องค์การบริหารส่วนตำบลโพนข่า อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ :www.pk.go.th
หน้าหลัก
ข่าวกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
กระดานถาม-ตอบ
ติดต่อ-สอบถาม
ข่าวประชาสัมพันธ์
คู่มือประชาชนเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้วยความปรารถนาดีจากองค์การบริหารส่วนตำบลโพนข่า
รายละเอียดข่าว
คู่มือประชาชนเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้วยความปรารถนาดีจากองค์การบริหารส่วนตำบลโพนข่า อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ โรคไข้เลือดออกติดต่อถึงกันได้โดยมียุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ โดยยุงตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยในระยะไข้สูง และฟักตัวในยุงประมาณ 8 – 12 วัน จากนั้นเมื่อยุงตัวนี้ไปกัดคนปกติ ก็จะปล่อยเชื้อไวรัสไปยังผู้ที่ถูกกัด เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายคน และผ่านระยะฟักตัวประมาณ 5 – 8 วัน (สั้นที่สุด 3 วัน – นานที่สุด 15 วัน) ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้ สำหรับเชื้อไวรัสเดงกีนี้จะอยู่ในตัวยุงนั้นตลอดชีวิตของยุง คือ ประมาณ 45 วัน ???? #อาการผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ????มีไข้สูงลอยประมาณ 2-7 วัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ???? ส่วนใหญ่จะมีอาการหน้าแดงมีจุดแดงๆ ที่ แขน ขา รักแร้ และตามลำตัว ???? บางรายมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ผู้ป่วยมีภาวะช็อก ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจเสียชีวิต ภายใน 12 -24 ชั่วโมง #การป้องกันโรคไข้เลือดออก ???? หลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงลายกัดโดยให้นอนกางมุ้งในเวลากลางวันหรือไม่เข้าไปอยู่ในที่มืดและอับชื้น ????ทาโลชั่นกันยุง ????ทำลาย ยุงตัวแก่โดยการพ่นหมอกควันและให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ ????ใส่เกลือ น้ำส้มสายชู ทรายอะเบท ลงในน้ำจานรองตู้กับข้าว เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ ????ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ในภาชนะที่มีน้ำขังทุก 7 วัน เพื่อตัดวงจรการเกิดยุงลาย โดยวิธีการเก็บ 3 เก็บ คือ เก็บให้เกลี้ยงไม่เลี้ยงยุงลาย และ 5ป. 1ข. ปราบยุงลาย เก็บ 3️⃣ เก็บ – เก็บที่ 1 เก็บขยะ เศษภาชนะน้ำขังแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย วัสดุที่เหลือใช้นำไปขายเป็นรายได้เสริม – เก็บที่ 2 เก็บบ้าน ให้ปลอดโปร่งยุงลายไม่เกาะพัก ขัดล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำ เปลี่ยนน้ำในแจกันทุก 7 วัน – เก็บที่ 3 เก็บน้ำ น้ำกินน้ำใช้เก็บให้มิดชิด โดยการปิดฝาโอ่ง ถัง ไม่ให้ยุงลายลงไปวางไข่ 5️⃣ ป. 1️⃣ ข. 1.ปิด ปิดภาชนะขังน้ำให้มิดชิด ป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ 2.เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำเปลี่ยนน้ำทุกๆ 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง 3.ปล่อย ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่น ปลาหางนกยุง ปลากัด ปลากระดี่ 4.ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง โล่ง สะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย 5.ปฎิบัติ เป็นประจำจนเป็นนิสัย 1️⃣ ข. ขัดภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ เพื่อกำจัดไข่ยุงที่เกาะในภาชนะที่มีน้ำขัง
เอกสารประกอบ
คู่มือประชาชนเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้วยความปรารถนาดีจากองค์การบริหารส่วนตำบลโพนข่า
วันที่ลงข่าว
: 9 ก.ค. 2566
ผู้ลงข่าว
: ผู้ดูแลระบบสำนักปลัด